อาจารย์แพทย์จีนนภษร แสงศิวะฤทธิ์


     ไมเกรน เป็นโรคที่พบมากในปัจจุบันและเป็นๆหายๆ ส่งผลต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก จะมีอาการปวดหน่วงที่บริเวณขมับ คิ้ว และรอบดวงตา ตาพร่ามัว บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยทั่วไปก็จะทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการ และทานยาป้องกันควบคุมการบีบขยายของหลอดเลือด แต่ก็ยากที่จะรักษาให้หายขาด การฝังเข็มรักษาได้ดี บางเคสกำลังปวดอยู่ ฝังไปสักพักยังไม่ทันเอาเข็มออกอาการก็ดีขึ้นอย่างชัดเจน บอกลายาแก้ปวดไปเลย ซึ่งการดูแลตนเองที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองและได้ผลดี คือการนวดกดจุด
เมื่อก่อนหมอเองก็เป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคนี้นั้น เวลาเครียด พักผ่อนไม่พอ หรือก่อนประจำเดือนมาอาการก็จะเริ่มออก ก็ใช้การฝังเข็มรักษาตนเองแล้วได้ผล เวลาที่ไม่สะดวกฝังเข็ม ก็จะใช้การนวดกดจุดเพื่อคลายอาการ ผลการรักษาก็ให้ผลดีไม่แพ้กัน 

ทำไมถึงเป็น?
     ทางศาสตร์การแพทย์จีนมีคำกล่าวว่า “ปู้ทงเจ๋อท่ง” มีความหมายว่า หากเกิดการติดขัดก็จะทำให้มีอาการปวด หากเปรียบเทียบลองนึกภาพสายยาง ที่มีตะไคร่น้ำเกาะอยู่ภายใน เฉกเช่นหลอดเลือดที่มีไขมัน หรือเลือดเสียคั่งค้างอยู่ภายใน ก็จะก่อให้เกิดอาการปวด และ “ปู้หรงเจ๋อท่ง” มีความหมายว่าหากขาดการบำรุงหล่อเลี้ยงก็จะปวด เปรียบเทียบกับปั๊มน้ำที่จ่ายกระแสไฟได้ไม่ดี ทำให้เครื่องติดๆดับๆ เฉกเช่นเดียวกับ หลอดเลือดที่มีปริมาณการสูบฉีดและพลังงานน้อย ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ตอนที่ได้ไปศึกษาต่อปริญญาโท หมอจึงสนใจที่จะทำวิจัยโรคนี้ในหัวข้อวิจัย “การเลือกจุดฝังเข็มและเส้นลมปราณ ที่ใช้ในการรักษาโรคไมเกรน” เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนวดกดจุดตัวเองเวลาที่มีอาการ หมอจะยกมา 3 จุดตัวอย่าง ที่ติดTop three ดังนี้

เกิดจากลม
     การฝังเข็มรักษาได้ดี บางเคสกำลังปวดอยู่ ฝังไปสักพักยังไม่ทันเอาเข็มออกอาการก็ดีขึ้นอย่างชัดเจน บอกลายาแก้ปวดไปเลย ซึ่งการดูแลตนเองที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองและได้ผลดี คือการนวดกดจุด
จุดฝังเข็มที่ใช้บ่อยและได้ผลดีในการรักษาโรคไมเกรน จะอยู่บริเวณศีรษะ ได้แก่


1. จุดเฟิงฉือ (GB-20) Fēngchí 

     ตำแหน่ง : อยู่บริเวณ occipital ทั้งสองข้าง หลุมแอ่งอยู่ใต้ฐานศีรษะ เหนือชายผมด้านหลัง 1 ชุ่น ตรงรอยบุ๋มของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid กับกล้ามเนื้อ trapezius 
     วิธีการนวดกดจุด : ใช้นิ้วโป้งกดที่จุดเฟิงฉือ และใช้นิ้วที่เหลือทั้งสี่ประคองศรีษะไว้ ออกแรงกดที่นิ้วโป้งค้างไว้ ก้มศรีษะลง และค่อยๆเงยหน้าขึ้น แล้วก้มหน้าลง แต่ให้มุมของปลายนิ้วโป้งชี้ไปที่ปลายจมูก คลึงไว้ 3-5 นาที

2. จุดไท่หยาง (EX-HN5) Tàiyáng

     ตำแหน่ง : อยู่ตรงรอยบุ๋มที่ขมับ หลังจุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วกับหางตา ห่าง 1 ชุ่น ( เท่ากับความกว้างของหัวแม่มือ) 
     วิธีการนวดกดจุด : ใช้นิ้วไหนก็ได้แล้วแต่ถนัด ให้ขยี้บริเวณขมับสักครู่แล้วจึงกดลงที่จุดไท่หยาง โดยกดลงตรงๆตั้งฉากกับผิวหนังค้างไว้ให้รู้สึกเจ็บแล้วจึงปล่อย ทำซ้ำ 3-5 นาที

3. จุดซ่วยกู่ (GB-8) Shuàigǔ

     ตำแหน่ง :อยู่ด้านข้างศีรษะบริเวณทัดดอกไม้เหนือยอดใบหูขึ้นมา 1.5 นิ้ว
     วิธีการนวดกดจุด : ใช้นิ้วไหนก็ได้แล้วแต่ถนัด ให้ขยี้บริเวณทัดดอกไม้สักครู่แล้วจึงกดลงที่จุดซ่วยกู่ โดยกดลงตรงๆตั้งฉากกับผิวหนังค้างไว้ให้รู้สึกเจ็บแล้วจึงปล่อย ทำซ้ำ 3-5 นาที

เครดิตรูป Baidu.com

Image
รองช้ำ