อาการนิ้วล็อคสามารถเกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย และพบว่าในกลุ่มคนทำงานมีอาการนิ้วล็อคเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำงานที่ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์ และใช้ข้อมือขยับเมาส์เป็นเวลานาน ๆ โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
นิ้วล็อคเกิดจากอะไร
นิ้วล็อคเกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นตามนิ้วมือและฝ่ามือเกิดอาการอักเสบและบวมขึ้นเป็นก้อน ทำให้เส้นเอ็นที่เกิดการบวมทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี เมื่องอหรือเหยียดนิ้วมือมักมีอาการปวด เสียงคลิ๊กในขณะขยับนิ้วมือ ในบางรายนิ้วค้างอยู่ในท่างอไม่สามารถเหยียดออกได้
ท่าบริหารนิ้วและมือป้องกันนิ้วล็อค
ท่าที่ 1 แบมือ – แบมือออก กางทุกนิ้วออกให้เหยียดตรง แล้วนับ 1-3
ท่าที่ 2 จีบมือ – จีบมือให้ปลายนิ้วให้ทุกนิ้วแตะรวมกัน พยายามให้นิ้วเหยียดตรง และข้อมือกระดกขึ้นเล็กน้อย จากนั้นแบมือแล้วแอ่น กางนิ้วให้แยกจากกันมากที่สุด
ท่าที่ 3 จีบนิ้วรำ – แตะปลายนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วอื่น ๆ ทีละนิ้ว ขณะที่นิ้วอื่นเหยียดตรงทำซ้ำวนไปมาบ่อย ๆ
ท่าที่ 4 ยืดนิ้วมือ – โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่ง ดันให้ข้อมือกระดกขึ้น นิ้วมือเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย
ท่าที่ 5 เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือ – จีบมือให้ปลายนิ้วทุกนิ้วแตะรวมกัน ใช้ยางยืดหลาย ๆ เส้นคล้องที่นิ้วหลวม ๆ เพื่อเพิ่มแรงต้าน จากนั้นเหยียดนิ้วมือพร้อมอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อย ๆ ปล่อย
อาการนิ้วล็อคอาจกลับมาเป็นซ้ำหากยังคงมีพฤติกรรมในแบบเดิม ควรเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับวิธีปรับพฤติกรรมและการรักษาที่ถูกต้อง
โดยสามารถปรึกษาได้ที่คลินิกกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เปิดทำการเฉพาะ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00-16.30 น.
โทรนัดหมายล่วงหน้าได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 098-3120977
หรือติดต่อผ่านไลน์ https://lin.ee/cZ6134V