โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 "งานวิชาการรับใช้สังคม"
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.
ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
(รูปแบบ ONSITE)
******************************************
1. หลักการและเหตุผล
การวิจัยเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอนและสถาบัน นอกจากนั้นผลงานวิจัยยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเล็งเห็นความสำคัญของภารกิจด้านการวิจัย และมีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มศักยภาพทางด้านการวิจัย การผลิตผลงานวิชาการต่าง ๆ มีการสนับสนุนให้อาจารย์ส่งผลงานลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประชุมวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการกำหนดให้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเป็นผลงานประเภทหนึ่งที่สามารถเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งผลงานวิชาการรับใช้สังคม เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินเป็นรูปธรรมได้โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่เกี่ยวกับชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิต หรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานในรูปแบบอื่นที่สามารถใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน ทำให้มีอาจารย์และนักวิชาการตลอดจนนักวิจัยสนใจผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมมากขึ้น
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงกำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 "งานวิชาการรับใช้สังคม" เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยและนักวิชาการต่างสถาบัน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จากสถาบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
2.2 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด วิธีการปฏิบัติ และประสบการณ์ในการวิจัย
2.3 เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายนักวิจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
เจ้าภาพหลัก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เจ้าภาพร่วมระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยทักษิณ
เจ้าภาพร่วมระดับนานาชาติ Angeles University Foundation (Philippines), Holy Angel University (Philippines), Lorma Colleges (Philippines), National University (Philippines), Panpacific University (Philippines), Philippine College of Criminology (Philippines), Saint Louis College (Philippines), Saint Louis University (Philippines), Saint Mary's University (Philippines), STI West Negros University (Philippines), University of Perpetual Help System Laguna - Binan Campus (Philippines), WCC Aeronautical and Technical College (Philippines), University of Saint Louis Tuguegarao (Philippines), Calayan Educational Foundation, Inc., (Philippines), Lyceum-Northwestern University (Philippines), University of Perpetual Help Dr. Jose G. Tamayo Medical University (Philippines), Tianjin University of Traditional Chinese Medicine (PR China), Congregatio Immaculati Cordis Mariae, (Philippines) and Universitas Duta Bangsa Indonesia (Philippines)
4. กำหนดการ วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567
5. สถานที่ดำเนินการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
6. กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมประชุม 150 คน ประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบุคคลที่สนใจทั่วไป
7. รูปแบบการดำเนินการ
7.1 การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรกิตติมศักดิ์ (Keynote speaker)
7.2 การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral presentation)
7.3 การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ (Poster presentation)
8. หัวข้อในการนำเสนอผลงานวิจัย 5 สาขา
8.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์
8.2 วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ประกอบด้วย แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตวิทยาคลินิก ทัศนมาตรศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ รังสีเทคนิค สัตวแพทย์ เทคนิคการสัตวแพทย์ สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
8.3 ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ (Arts, Humanities, Social Sciences and Education) ประกอบด้วย ภาษาศาสตร์และวรรณคดี ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หลักสูตรและการสอน การวัดและประเมินผล บริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว
8.4 บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (Business Administration and Economics) ประกอบด้วย บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ พาณิชศาสตร์ การบัญชี
8.5 ทางด้านจีน ประกอบด้วย จีนศึกษา การแพทย์แผนจีน จีนธุรกิจ ภาษาและวัฒนธรรมจีน
9. การลงทะเบียนทางเว็บไซต์ https://reg-hcuconf.hcu.ac.th/conf2024/
ติดต่อสอบถาม สำนักพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 18/18 ถ.เทพรัตน กม.18 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
ติดต่อ คุณปัทมา คงทอง คุณหทัยรัตน์ ทับทอง โทร. 0-2312-6300 - 79 ต่อ 1511, 1136, 1422 E–mail address: conference.hcu@gmail.com
กำหนดการ
การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 "งานวิชาการรับใช้สังคม"
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น.
ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
(รูปแบบ ONSITE)
********************************************
08.00 - 08.50 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่ HCU 2
08.50 - 09.00 น. ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับในการนำเสนองานประชุมวิชาการ
09.00 - 09.10 น. กล่าวรายงาน
โดย Dr. Jonathan Rante Carreon รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
09.10 - 09.15 น. กล่าวเปิดงาน
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
09.15 - 09.30 น. มอบประกาศนียบัตรแก่มหาวิทยาลัยที่เป็น co-hosts และถ่ายรูปรวม
09.30 – 10.30 น. บรรยายพิเศษ
1. เรื่อง การแพทย์แม่นยำและอีพิจีโนมิกส์: ก้าวสู่อนาคตด้วยการปลดล็อกความลับของจีโนมและนาฬิกาชีวภาพ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์
หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลธิบดี มหวิทยาลัยมหิดล
10.30 – 10.45 น. พักเบรค
พิธีเปิดนิทรรศการ “นวัตศรัทธาศิลป์ หนุนเศรษฐกิจและรักษ์ถิ่นของชุมชนพื้นที่สามบาง สองฝั่งคลอง จังหวัดสมุทรปราการ”
10.45 – 12.00 น. บรรยายพิเศษ (ต่อ)
2. “Integrating Traditional Chinese Medicine with the Big Health Industry and Wellness”
โดย Professor Wang Yaogang Vice President, Tianjin University of Traditional Chinese Medicine
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.00 น. นำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation)
กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์สุขภาพ
กลุ่มที่ 3 ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
กลุ่มที่ 4 บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
กลุ่มที่ 5 จีนศึกษา การแพทย์แผนจีน จีนธุรกิจและภาษาและวัฒนธรรมจีน
16.00 – 16.30 น. พิธีปิดการนำเสนอแต่ละห้องย่อย
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม